พื้นฐานการระบายอากาศ
การระบายอากาศทั่วไปนั้นสามารถแบ่งออกเป็นหลายวิธีการตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
โดยหลักการระบายอากาศแล้วแบ่งเป็น 3 ชนิด ตามลักษณะของการใช้งานดังนี้
1. การระบายอากาศโดยทั่วไปแบบธรรมชาติ (General Natural Ventilation)
เป็นวิธีการที่ใช้กันมากโดยอาศัยหลักการเคลื่อนไหวของอากาศแบบธรรมชาติ โดยอาศัยหลักความดันที่
แตกต่างในแต่ละพื้นที่ ทิศทางในการไหลของอากาศ แรงยกตัวของอากาศ อุณหภูมิที่แตกต่างกัน
เป็นหลักการที่วิศวกร สถาปนิกใช้ในการออกแบบอาคารสถานที่ต่างๆ พื้นฐานของการระบาย
อากาศด้วยวิธีนี้ เป็นการเคลื่อนย้ายถ่ายเทอากาศเข้าและออกจากบริเวณทั่วๆไปในอาคาร เช่น ใน
ห้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสบายของผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้น โดยทั่วไปแล้วจะเป็นการ
ระบายอากาศเพื่อควบคุมอุณหภูมิและกลิ่นภายในอาคาร หรือสำนักงาน ข้อมูลที่ใช้นั้นแตกต่างกัน
ไปตามวัตถุประสงค์
2. การระบายอากาศแบบทำให้เจือจาง (Dilution Ventilation)
เป็นชนิดของการระบายอากาศที่ทำเพิ่มเติมขึ้นมาเมื่อการระบายอากาศแบบธรรมชาติไม่เพียงพอ หรือมีข้อจำกัดต่างๆ ไม่
สามารถใช้ระบบระบายอากาศแบบธรรมชาติได้ หรือมีการใช้อาคารผิดวัตถุประสงค์ไป มีการต่อ
เติม มีการขยายพื้นที่ มีการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องจักรเพิ่มเติมมา จำนวนคนเพิ่มมากขึ้น ระบบระบาย
อากาศเดิมที่ออกแบบสร้างไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จำเป็นต้องทำการเสริมเป็นการระบายอากาศ
เพื่อลดความเข้มข้นของมลพิษ ซึ่งปนเปื้อนอยู่ในอากาศภายในสถานประกอบการ โดยอาศัย
หลักการทำให้มลพิษเจือจางลงด้วยอากาศที่บริสุทธิ์จากภายนอก จนกระทั่งอยู่ในระดับที่ไม่เป็น
อันตรายต่อสุขภาพ หรือลดปริมาณมลพิษที่ไม่เป็นพิษภัยทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเท่านั้น
เช่น กลิ่น ควันอันไม่พึงประสงค์ หรือระบายอากาศเพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย การระเบิด โดยการ
ควบคุมระดับความเข้มข้น ของมลพิษทางอากาศบางประการ ไม่ให้อยู่ในระดับที่ติดไฟหรือระเบิด
วิธีการดำเนินการอาจจะเลือกใช้การระบายอากาศแบบธรรมชาติหรือ การใช้อุปกรณ์เครื่องกล เช่น
พัดลมระบายอากาศติดตั้งเพิ่มเติมเพื่อช่วยการระบายอากาศให้เพียงพอ
3. การระบายอากาศเฉพาะที่ (Local Exhaust Ventilation)
เป็นการระบายอากาศโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ ควบคุมปัญหาเดือดร้อนรำคาญภายในสถาน
ประกอบการ เป็นวิธีการที่นับว่าได้ผลมากที่สุด เป็นการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศที่
แหล่งกำเนิดโดยตรง อาศัยหลักการคล้ายกับวิธีที่กล่าวมาแล้ว โดยการดูดระบายมลพิษพร้อมทั้ง
อากาศที่ถูกปนเปื้อนกับอากาศส่วนใหญ่ของห้องด้วย ระบบระบายอากาศเฉพาะที่ประกอบด้วย
องค์ประกอบใหญ่ 5 ส่วนหลัก คือ
3.1 ทางเข้าของอากาศหรือฮู๊ดดูดรับอากาศ (Hoods หรือ Inlet)
เป็นส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่รวบรวมมลพิษทางอากาศให้เข้าสู่ระบบระบายอากาศ การเลือกใช้หรือการออกแบบ การ
สร้างต้องคำนึงถึงชนิดที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพมากที่สุด
3.2 ท่อนำอากาศ (Ducts)
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่นำอากาศ ส่งต่ออากาศที่รวบรวมโดย ฮู๊ด ผ่านต่อไปในระบบเพื่อเข้าสู่ระบบขจัดอากาศ หรือปล่อยออกสู่ภายนอก
3.3 พัดลมดูดอากาศ (Exhaust Fan หรือ Blower)
ทำหน้าที่ในการดูดอากาศ เป่าอากาศหรือขับเคลื่อนอากาศในระบบระบายอากาศ
3.4 เครื่อง อุปกรณ์ควบคุมมลพิษ (Air Cleaning Equipments)
ทำหน้าที่ในการขจัดมลพิษทางอากาศที่รวบรวมมาได้ให้อยู่ในมาตรฐานควบคุมก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศภายนอก
ระบบระบายอากาศบางชนิดไม่จำเป็นต้องมีระบบขจัดอากาศติดตั้งอยู่ด้วย
3.5 ทางออก (Outlet หรือ Stack)
ทางออกของอากาศผ่านการบำบัดแล้ว หรือปล่องระบายอากาศเป็นส่วนสุดท้ายของระบบระบายอากาศ
จากเนื้อหาบทความที่กล่าวถึงไปหวังว่าคงเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่านได้ระดับหนึ่ง หากท่านผู้อ่านสนใจและ ต้องการซื้อสินค้าหรือขอคำปรึกษาเกี่ยวกับระบบระบายอากาศ อาทิเช่น โบลเวอร์ สามารถติดต่อสอบถามได้