061-824-5496
mcgtrading@hotmail.com
หน้าแรก
สินค้า
บริการของเรา
ดาวน์โหลด
เกี่ยวกับเรา
บทความ
ติดต่อเรา
Cart
0
฿0.00
Cart
0
฿0.00
9 เคล็ดลับ ตรวจเช็คและดูแลบำรุงรักษาพัดลมโบลเวอร์
9 เคล็ดลับ ตรวจเช็คและดูแลบำรุงรักษาพัดลมโบลเวอร์
การตรวจเช็คและดูแลบำรุงรักษาพัดลมโบลเวอร์ก็จะทำให้พัดลมโบลเวอร์มีอายุการใช้งานได้ยาวนานมากขึ้น ทางเรามีเคล็ดลับดีๆมาแนะนำ 9 วิธี
1. ใบพัด
1.1.ควรตรวจเช็คเป็นประจำทุกๆปี ตรวจเช็คว่ามีสิ่งแปลกปลอมหรือสิ่งสกปรกเข้าไปติดที่ใบพัดหรือไม่เพราะจะทำให้ใบพัดสั่นและส่าย เกิดการเสียสมดุลและจะส่งผลให้เกิดการสึกหรอของลูกปืน และ พู่เล่ย์ ซึ่งทำให้อายุการใช้งานของอุปกรณ์เหล่านี้สั้นลง
1.2.ควรตรวจเช็คใบพัดว่ามีการเกิดสนิมและการกัดกร่อน หรือ ชำรุดเสียหายหรือไม่ ถ้าใบพัดอยู่ในสภาพใช้งานได้ควรนำใบพัดไปทำสีใหม่ พร้อมทั้งทำการตั้งศูนย์ ( balance) ใบพัดใหม่เพื่อความสมดุล
1.3.ควรทำความสะอาดใบพัดเป็นประจำทุกๆปี โดยเฉพาะใบพัดแบบโค้งหน้า ( forward curve ) ซึ่งตัวใบจะเป็นแอ่งโค้งไปข้างหน้า ถ้ามีสิ่งสกปรกมาสะสมตัวอยู่ที่ใบมากๆจะส่งผลให้ทำปริมาณลมได้น้อยกว่าปกติหรือทำให้ใบพัดเสียสมดุล และจะส่งผลให้ลูกปืนสึกหรอเร็วหรืออายุการใช้สั้นลง
2. ตลับลูกปืน
2.1.ควรตรวจเช็คว่าจารบีที่ตลับลูกปืนแห้งหรือยัง และ ควรอัดจารบีเป็นประจำทุกๆ 1,000 ชั่วโมง การอัดจารบีควรอัดในปริมาณที่พอเหมาะ คือ ควรอัดจารบีของใหม่เข้าไปเติมในส่วนที่ขาดหายไปหรือ ถ้าอัดจนจารบีของเก่าล้นออกมานอกตลับลูกปืน ควรเช็ดออกให้หมดเพราะถ้าไม่เช็ดออกจะทำให้จารบีที่ล้นออกมาปั่นเอาเศษฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกเข้าไปปะปนในตลับลูกซึ่งจะทำให้อายุการใช้งานสั้นลง
2.2.ควรตรวจเช็คว่าลูกปืนเสียงดังและมีความร้อนสูงมากผิดปกติหรือไม่ อุณหภูมิปกติของลูกปืนไม่ควรเกิน 70 องศาเซลเซียส ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกปืนเสียงดังและร้อนผิดปกติอาจเกิดจากการตั้งสายพานตึงเกินไป หรือลูกปืนหมดอายุในการใช้งาน ซึ่งอายุการใช้ของลูกปืนจะอยู่ที่ 5 ปี ถ้าลูกปืนหมดอายุการใช้งานแล้วยังฝืนใช้งานอยู่อาจจะทำให้ลูกปืนล็อคได้ถึงขั้นทำให้แกนเพลาสึกได้
3. พู่เล่ย์
3.1.ควรตรวจเช็คพู่เล่ย์เป็นประจำทุกๆปี ว่าอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตามปกติหรือไม่ อายุการใช้งานของพู่เล่ย์อยู่ที่ 7 ปี พู่เล่ย์จะมีอายุการใช้ครบ 7 ปีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการปรับตั้งสายพาน ไม่ควรปรับตั้งสายพานหย่อนเกินไปเพราะจะทำให้เกิดการสลิป ( slip ) ของสายพานช่วงสตาร์ทพัดลมเป็นผลทำให้พู่เล่ย์สึกและอายุการการใช้งานสั่นลงกว่าปกติ
3.2.เวลาเปลี่ยนพู่เล่ย์ใหม่ทุกครั้งควรตรวจเช็คว่าพู่เล่ย์เรียบไม่มีรอยแหว่งหรือมีปุ่ม ตามด อยู่บนแนวร่องพู่เล่ย์ และตัวพู่เล่ย์จะต้องผ่านการตั้งศูนย์ ( balance ) ก่อนเท่านั้น
4. สายพาน
4.1.ควรตรวจเช็คความตึงของสายพาน พร้อมทั้งปรับตั้งสายพานใหม่ทุกๆ 2000 ชั่วโมง หรือ ประมาณ 3 เดือน / ครั้ง 4.2.การปรับตั้งสายพาน สายพานทุกเส้นจะต้องมีความยาวและตึงเท่ากันทุกเส้น การตรวจเช็คความตึงของสายพานทำได้โดย ใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงบนสายพานหากสายพานหย่อนลงประมาณ 1 เซนติเมตร หรือประมาณเท่ากับความหนาของสายพาน ถือว่ามีความตึงพอเหมาะ การปรับตั้งสายพานไม่ควรปรับตั้งให้ตึงเกินไปหรือหย่อนเกินไปเพราะถ้าตึงเกินไปอาจจะทำให้เกิดความร้อนสูง ( overheating ) ที่ลูกปืน หรือทำให้แกนเพลางอได้เมื่อใช้งานไปนานๆ ถ้าสายพานหย่อนเกินไปอาจจะทำให้สายพานหลุดออกจากพู่เล่ย์ หรือสลิปได้ ทำให้พัดลมเกิดการสั่นและมีเสียงดังซึ่งมีผลทำให้พู่เล่ย์และสายพานสึกหรอเร็วกว่าปกติ
4.3.สายพานมีอายุการใช้งาน 3 ปี ( ถ้าสายพานหมดอายุการใช้งานหรือมีการสึกหรอควรเปลี่ยนสายพานใหม่ทันที )
5. แกนเพลา
5.1.ควรตรวจเช็คแกนเพลาว่ามีการสึกหรอหรือไม่ โดยเฉพาะตรงที่ชุดลูกปืนครอบอยู่และตรงที่ดุมใบพัดยึดอยู่ กรณีถ้าลูกปืนหมดอายุการใช้งานแล้วยังฝืนใช้งานต่ออาจทำให้ลูกปืนล็อคส่งผลให้แกนเพลาสึกได้ ถ้าแกนเพลาสึกควรเปลี่ยนแกนเพลาชุดใหม่หากยังใช้ชุดเดิมอยู่จะทำให้ลูกปืนชำรุดและ เสียหายเร็วมาก
5.2.ควรตรวจเช็คว่าชุดแกนเพลาและชุดดุมใบพัดยังยึดล็อคกันแน่นอยู่หรือไม่ ถ้าสกรูหรือน็อตที่ใช้ยึดล็อคชุดดุมใบพัดกับแกนเพลาคายตัวออกมาหรือขันล็อคไม่แน่น ก็จะส่งผลให้แกนเพลาและชุดดุมใบพัดสึก
5.3.ควรทำสีที่แกนเพลาใหม่หากเกิดสนิม
6. โครงสร้าง
6.1.ควรตรวจเช็คเป็นประจำทุกๆปีว่ามีการเกิดสนิมและการกัดกร่อนที่โครงสร้างพัดลมหรือไม่ถ้ามีการเกิดสนิมก็ควรทำสีใหม่
หมายเหตุ
พัดลมที่ติดตั้งอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ใกล้กับทะเล และ ติดตั้งอยู่ใกล้กับ คูลลิ่งเทาเวอร์ หรือ บริเวณที่มีสารเคมีจะมีผลทำให้โครงสร้างของพัดลมเกิดการกัดกร่อน และ ผุพังเร็วกว่าสภาวะปกติ
7. มอเตอร์
7.1.ควรตรวจเช็คค่ากระแสว่าสูงผิดปกติเกินกว่าที่ตั้งค่าไว้ครั้งแรกหรือไม่ ถ้ากระแสเกิน (Over load )
7.2.สาเหตุอาจเกิดจาก ลูกปืนหมดอายุการใช้งาน ลูกปืนแตก ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดอุณหภูมิสูงที่มอเตอร์และทำให้ กระแสสูงตามไปด้วย โดยปกติอุณหภูมิของมอเตอร์ไม่ควรสูงเกิน 100 – 120 องศาเซลเซียส ถ้าลูกปืนหมด อายุการใช้งานแล้วควรที่จะเปลี่ยนทันที เพราะถ้ายังฝืนใช้งานต่อลูกปืนอาจจะล็อคและส่งผลทำให้มอเตอร์ไหม้ได้ อายุการใช้งานของลูกปืนอยู่ที่ 5 ปี มอเตอร์มีอายุการใช้งาน 15 ปี เมื่อใช้งานครบ 15 ปีควรเปลี่ยนมอเตอร์ตัวใหม่ หรือ นำมอเตอร์ตัวเก่าไปพันขดลวดใหม่ จึงนำกลับมาใช้งานได้
8. การสั่น
8.1.การสั่นของพัดลมมีหลายสาเหตุสังเกตได้ดังนี้
8.2.เกิดจากใบพัดเสียสมดุล สาเหตุมาจากใบพัดสกปรก มีฝุ่นละอองและสิ่งแปลกปลอมไปจับที่ซี่ใบพัดทำให้ใบพัดส่ายและแกว่ง
8.3.เกิดจากแกนเพลาสึกการสึกของแกนเพลาอาจจะสึกตรงที่ยึดติดกับชุดดุมใบพัด หรือ สึกตรง บริเวณที่ชุดลูกปืนครอบอยู่และตรงที่ยึดติดกับพู่เล่ย์ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้พัดลมสั่นได้
8.3.เกิดจากสายพาน การตั้งสายพานหย่อนเกินไปอาจทำให้ช่วงสตาร์ทพัดลมเกิด การสลิป หรือ การกระชากของสายพาน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้พัดลมสั่นได้
8.4.เกิดจากพู่เล่ย์ส่าย พู่เล่ย์ส่ายและรูพู่เล่ย์สึกหรือไม่ได้ตั้งศูนย์ทำให้เสียสมดุล เป็นสาเหตุทำให้พัดลมสั่นได้
8.5.ปัญหาที่กล่าวมานี้เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้พัดลมสั่น ฉะนั้นเวลาที่จะแก้ปัญหาให้พัดลมหายสั่นควรที่จะตรวจเช็คให้ละเอียดถี่ถ้วนและแก้ปัญหาให้ตรงจุด อาการสั่นของพัดลมจึงจะหายสั่นได้
9. น็อต และ สกรู ( ที่ใช้ยึดโครงสร้างพัดลม )
9.1.ควรตรวจเช็ค น็อต และ สกรู ที่ใช้ยึดโครงสร้างพัดลม ที่ฐานมอเตอร์ ที่ใช้ยึดตุ๊กตาครอบลูกปืนที่ใช้ยึดเบลท์การ์ดครอบพู่เล่ย์ และสกรูที่ใช้ยึดดุมใบพัดกับแกนเพลาตรวจเช็คน็อตทุกตัวว่าหลวมหรือคายตัวออกมาหรือไม่พร้อมทั้งทำการขันน็อตและสกรูให้แน่นทุกตัว
9.2.หากพัดลมติดตั้งในสถานที่ที่มีไอน้ำมันหรือใช้ดูด ไอน้ำมัน ควรจะตรวจเช็คอยู่เป็นประจำ เพราะน้ำมันเป็นสาเหตุทำให้น็อตและสกรูคลายตัว
9.3.การตรวจเช็คและดูแลบำรุงรักษาพัดลมระบายอากาศอยู่เป็นประจำตามขั้นตอนใน ตารางการบำรุงรักษาพัดลมระบายอากาศ จะช่วยท่านลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมในระยะยาวและช่วยยืดอายุการใช้งานของพัดลมระบายอากาศได้
จากเนื้อหาบทความที่กล่าวถึงไปหวังว่าคงเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่านได้ระดับหนึ่ง หากท่านผู้อ่านสนใจและ
ต้องการซื้อสินค้าหรือขอคำปรึกษาเกี่ยวกับพัดลมโบลเวอร์และระบบระบายอากาศ
สามารถติดต่อสอบถามได้