การที่ปั้มน้ำไม่ทำงานนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปริมาณน้ำ หรือ อายุการใช้งานของปั๊ม ซึ่งในบทความนี้เราจะมาพูดเกี่ยวกับปั๊มหอยโข่ง ซึ่งสาเหตุหลักๆที่ปั๊มหอยโข่งไม่ทำงานแบ่งออกเป็น 10 หัวข้อคือ
1. ปั๊มไม่จ่ายน้ำ
2. ปั๊มจ่ายน้ำออกมาน้อย
3. ปั๊มให้แรงดันน้ำน้อย
4. เริ่มต้นจ่ายน้ำแล้วขาดหายไป
5. ปั๊มต้องการกำลังมากผิดปรกติ
6. ตลับกันรั่ว (Stuffing Box) รั่วมากผิดปรกติ
7. อายุการใช้งานของกันรั่ว (Packing)สั้นกว่าปกติ
8. ปั๊มสั่นหรือมีเสียงดัง
9. อายุการใช้งานของรองลื่น (Bearing) สั้นผิดปรกติ
10. ปั๊มร้อนจัดเวลาทำงาน หรือ หมุนฝืด
1 ปั๊มไม่จ่ายน้ำสาเหตุมาจาก
– ไม่ได้เติมน้ำก่อนเดินเครื่อง หรือไม่มีอน้ำฃอยู่ในห้องสูบ
– ในห้องสูบหรือท่อดูดมีน้ำไม่เต็ม
– ระยะดูดยก (Suction lift) สูงเกินไป
– NPSHa น้อยกว่า NPSHr
– มีโพรงอากาศ (Air Pocket) ในท่อดูด
– ปลายท่อดูดอยู่ต่ำจากผิวของของเหลวไม่มากพอ
– ความเร็วต่ำเกินไป
– ใบพัดหมุนผิดทาง
– เฮดรวมของระบบสูงกว่าเฮดของปั๊มที่ออกแบบไว้
– ให้ปั๊มที่ไม่เหมาะสมทำงานร่วมกันแบบขนาน
– มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดอยุ่ในใบพัด
2 ปั๊มจ่ายน้ำออกมาน้อย สาเหตุมาจาก
– ในห้องสูบหรือท่อดูดมีน้ำไม่เต็ม
– ระยะดูดยก (Suction lift) สูงเกินไป
– NPSHa น้อยกว่า NPSHr
– มีฟองอากาศหรือก๊าซในของเหลวมากเกินไป
– มีโพรงอากาศ (Air Pocket) ในท่อดูด
– ท่อดูดรั่ว อากาศเข้าไปในท่อได้
– อากาศรั่วเข้าไปในห้องสูบผ่านตลับอัดกันรั่ว (Stuffing box)
– ฟุตวาล์วเล็กเกินไป
– ฟุตวาล์วอุดตัน
– ปลายท่อดูดอยู่ต่ำจากผิวของของเหลวไม่มากพอ
– ความเร็วต่ำเกินไป
– เฮดรวมของระบบสูงกว่าเฮดของปั๊มที่ออกแบบไว้
– ความหนืด (Viscosity) ของของเหลวต่างจากที่ได้ออกแบบไว้
– ให้ปั๊มที่ไม่เหมาะสมทำงานร่วมกันแบบขนาน
– มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดอยุ่ในใบพัด
– แหวนกันสึก (Wearing ring) สึกมาก
– ใบพัดชำรุด
– กันรั่ว (Gasket) ของห้องสูบชำรุด ทำให้มีการรั่วภายใน
3 ปั๊มให้แรงดันน้ำน้อย
– มีฟองอากาศหรือก๊าซในของเหลวมากเกินไป
– ความเร็วต่ำเกินไป
– ใบพัดหมุนผิดทาง
– เฮดรวมของระบบสูงกว่าเฮดของปั๊มที่ออกแบบไว้
– ความหนืด (Viscosity) ของของเหลวต่างจากที่ได้ออกแบบไว้
– ให้ปั๊มที่ไม่เหมาะสมทำงานร่วมกันแบบขนาน
– แหวนกันสึก (Wearing ring) สึกมาก
– ใบพัดชำรุด
– กันรั่ว (Gasket) ของห้องสูบชำรุด ทำให้มีการรั่วภายใน
4 เริ่มต้นจ่ายน้ำแล้วขาดหายไป สาเหตุมาจาก
– ในห้องสูบหรือท่อดูดมีน้ำไม่เต็ม
– ระยะดูดยก (Suction lift) สูงเกินไป
– มีฟองอากาศหรือก๊าซในของเหลวมากเกินไป
– มีโพรงอากาศ (Air Pocket) ในท่อดูด
– ท่อดูดรั่ว อากาศเข้าไปในท่อได้
– อากาศรั่วเข้าไปในห้องสูบผ่านตลับอัดกันรั่ว (Stuffing box)
– ปลายท่อดูดอยู่ต่ำจากผิวของของเหลวไม่มากพอ
– ท่อน้ำกันรั่วอุดตัน น้ำไม่สามารถไหลเข้าไปทำหน้าที่ได้ทำให้อากาศรั่วเข้าไปในห้องสูบ
– ติดตั้ง Seal cage ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้องในตลับอัดกันรั่ว (Stuffing Box) ทำให้น้ำกันรั่วไม่สามารถ
5 ปั๊มต้องการกำลังมากผิดปรกติ สาเหตุมาจาก
– ความเร็วสูงเกินไป
– ใบพัดหมุนผิดทาง
– เฮดรวมของระบบสูงกว่าเฮดของปั๊มที่ออกแบบไว้
– เฮดรวมของระบบต่ำกว่าเฮดของปั๊มที่ออกแบบไว้
– ความถ่วงจำเพาะของของเหลวต่างจากที่ออกแบบไว้
– ความหนืด (Viscosity) ของของเหลวต่างจากที่ได้ออกแบบไว้
– มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดอยุ่ในใบพัด
– เพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์ซึ่งกันและกัน
– เพลาคด
– ชิ้นส่วนที่หมุนบดกับส่วนที่อยู่กับที่
– แหวนกันสึก (Wearing ring) สึกมาก
– ติดตั้งกันรั่ว (Packing) ไม่ถูกต้อง
– ประเภทของกันรั่วไม่เหมาะกับสภาพการทำงาน
– ต่อมหล่อลื่น (Gland) แน่นเกินไป เป็นผลให้ไม่มีสิ่งหล่อลื่นไหลไปสู่กันรั่ว (Packing)
6 ตลับกันรั่ว (Stuffing Box)รั่วมากผิดปรกติ สาเหตุมาจาก
– เพลาหรือปลอกเพลา (Shaft sleeves) ชำรุดที่กันรั่ว (Packing)
– ติดตั้งกันรั่ว (Packing) ไม่ถูกต้อง ในตลับอัดกันรั่ว (Stuffing Box)ทำให้น้ำกันรั่วไม่สามารถทำงานได้
– ประเภทของกันรั่วไม่เหมาะกับสภาพการทำงาน
– เพลาหมุนไม่ได้ศูนย์เนื่องจากรองลื่นชำรุด หรือเพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์กัน
– ใบพัดหรือชิ้นส่วนที่หมุนอื่นไม่สมดุลย์ ทำให้เกิดสั่น
– ไม่มีน้ำไหลไประบายความร้อนตลับอัดกันรั่ว (Stuffing Box) ประเภทระบายความร้อนด้วยน้ำ
– ช่องว่าง (Clearance) ระหว่างเพลากับเรือนปั๊ม (Casing) ที่ด้านล่างของตลับอัดกันรั่วมากเกินไปทำให้กันรั่วถูกดันเข้าไปในห้องสูบ
– มีสิ่งสกปรกหรือกรวดทรายในน้ำยากันรั่ว (Sealing Liquid) ทำให้เกิดรอยขีดข่วนบนเพลาหรือปลอกเพลา
7 อายุการใช้งานของกันรั่ว (Packing)สั้นกว่าปกติ สาเหตุมาจาก
– ติดตั้งกันรั่ว (Packing) ไม่ถูกต้อง
– ท่อน้ำกันรั่วอุดตัน น้ำไม่สามารถไหลเข้าไปทำหน้าที่ได้ทำให้อากาศรั่วเข้าไปในห้องสูบ
– ติดตั้ง Seal cage ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้องในตลับอัดกันรั่ว (Stuffing Box) ทำให้น้ำกันรั่วไม่สามารถไหลเข้าไปทำหน้าที่ได้
– เพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์ซึ่งกันและกัน
– เพลาคด
– รองลื่น (Bearing) สึก
– เพลาหรือปลอกเพลา (Shaft sleeves) ชำรุดที่กันรั่ว (Packing)
– ประเภทของกันรั่วไม่เหมาะกับสภาพการทำงาน
– เพลาหมุนไม่ได้ศูนย์เนื่องจากรองลื่นชำรุด หรือเพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์กัน
– ใบพัดหรือชิ้นส่วนที่หมุนอื่นไม่สมดุลย์ ทำให้เกิดสั่น
– ต่อมหล่อลื่น (Gland) แน่นเกินไป เป็นผลให้ไม่มีสิ่งหล่อลื่นไหลไปสู่กันรั่ว (Packing)
– ไม่มีน้ำไหลไประบายความร้อนตลับอัดกันรั่ว (Stuffing Box) ประเภทระบายความร้อนด้วยน้ำ
– ช่องว่าง (Clearance) ระหว่างเพลากับเรือนปั๊ม (Casing) ที่ด้านล่างของตลับอัดกันรั่วมากเกินไป ทำให้กันรั่วถูกดันเข้าไปในห้องสูบ
– มีสิ่งสกปรกหรือกรวดทรายในน้ำยากันรั่ว (Sealing Liquid) ทำให้เกิดรอยขีดข่วนบนเพลาหรือปลอกเพลา
8 ปั๊มสั่นหรือมีเสียงดัง สาเหตุมาจาก
– ในห้องสูบหรือท่อดูดมีน้ำไม่เต็ม
– ระยะดูดยก (Suction lift) สูงเกินไป
– NPSHa น้อยกว่า NPSHr
– ฟุตวาล์วเล็กเกินไป
– ฟุตวาล์วอุดตัน
– ปลายท่อดูดอยู่ต่ำจากผิวของของเหลวไม่มากพอ
– ให้ปั๊มทำงานที่อัตราการสูบต่ำมาก
– มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดอยุ่ในใบพัด
– เพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์ซึ่งกันและกัน
– แท่นปั๊มและต้นกำลังไม่มั่นคงแข็งแรง
– เพลาคด
– ชิ้นส่วนที่หมุนบดกับส่วนที่อยู่กับที่
– รองลื่น (Bearing) สึก
– ใบพัดชำรุด
– เพลาหมุนไม่ได้ศูนย์เนื่องจากรองลื่นชำรุด หรือเพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์กัน
– ใบพัดหรือชิ้นส่วนที่หมุนอื่นไม่สมดุลย์ ทำให้เกิดสั่น
– มีแรงกดดันมากเกินไปโดยมีสาเหตุมาจากการชำรุดของชิ้นส่วนภายใน หรือการชำรุดของอุปกรณ์ควบคุมความสมดุลย์ของแรงดันของของเหลว
– มีไขหรือน้ำมันหล่อลื่นในช่องที่ติดตั้งรองลื่น หรือตลับลูกปืนมากเกินไป หรือมีการระบายความร้อนไม่ดีจึงทำให้มีอุณหภูมิสูง
– ขาดวัสดุหล่อลื่น
– ติดตั้งรองลื่นไม่ถูกต้อง เช่นลูกปืนแตกหรือชำรุดขณะติดตั้งใช้ขนาดที่ไม่เหมาะสม
– มีสิ่งสกปรกเข้าไปอยู่ในตลับลูกปืนหรือรองลื่น
– สนิมขึ้นในตลับลูกปืนหรือรองลื่นเนื่องจากน้ำรั่วเข้าไปได้
– อุณหภูมิของน้ำที่สูบเย็นมากทำให้ไอน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำในช่องตลับลูกปืน
9 อายุการใช้งานของรองลื่น (Bearing) สั้นผิดปรกติ สาเหตุมาจาก
– เพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์ซึ่งกันและกัน
– เพลาคด
– ชิ้นส่วนที่หมุนบดกับส่วนที่อยู่กับที่
– รองลื่น (Bearing) สึก
– เพลาหมุนไม่ได้ศูนย์เนื่องจากรองลื่นชำรุด หรือเพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์กัน
– ใบพัดหรือชิ้นส่วนที่หมุนอื่นไม่สมดุลย์ ทำให้เกิดสั่น
– มีแรงกดดันมากเกินไปโดยมีสาเหตุมาจากการชำรุดของชิ้นส่วนภายใน หรือการชำรุดของอุปกรณ์ควบคุมความสมดุลย์ของแรงดันของของเหลว
– มีไขหรือน้ำมันหล่อลื่นในช่องที่ติดตั้งรองลื่น หรือตลับลูกปืนมากเกินไป หรือมีการระบายความร้อนไม่ดีจึงทำให้มีอุณหภูมิสูง
– ขาดวัสดุหล่อลื่น
– ติดตั้งรองลื่นไม่ถูกต้อง เช่นลูกปืนแตกหรือชำรุดขณะติดตั้งใช้ขนาดที่ไม่เหมาะสม
– อุณหภูมิของน้ำที่สูบเย็นมากทำให้ไอน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำในช่องตลับลูกปืน
– สนิมขึ้นในตลับลูกปืนหรือรองลื่นเนื่องจากน้ำรั่วเข้าไปได้
– มีสิ่งสกปรกเข้าไปอยู่ในตลับลูกปืนหรือรองลื่น
10 ปั๊มร้อนจัดเวลาทำงาน หรือ หมุนฝืด สาเหตุมาจาก
– ไม่ได้เติมน้ำก่อนเดินเครื่อง หรือไม่มีน้ำอยู่ในห้องสูบ
– NPSHa น้อยกว่า NPSHr
– ให้ปั๊มทำงานที่อัตราการสูบต่ำมาก
– ให้ปั๊มที่ไม่เหมาะสมทำงานร่วมกันแบบขนาน
– เพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์ซึ่งกันและกัน
– ชิ้นส่วนที่หมุนบดกับส่วนที่อยู่กับที่
– รองลื่น (Bearing) สึก
– เพลาหมุนไม่ได้ศูนย์เนื่องจากรองลื่นชำรุด หรือเพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์กัน
– มีแรงกดดันมากเกินไปโดยมีสาเหตุมาจากการชำรุดของชิ้นส่วนภายใน หรือการชำรุดของอุปกรณ์ควบคุมความสมดุลย์ของแรงดันของของเหลว